ราคา จำนวน

BenQ ScreenBar Halo สุดยอดนวัตกรรมแห่งแสงสว่าง เพิ่มประสิทธิภาพให้คนยุคใหม่บนโต๊ะทำงาน

ดูทั้งหมด

BenQ ScreenBar Halo สุดยอดนวัตกรรมแห่งแสงสว่าง เพิ่มประสิทธิภาพให้คนยุคใหม่บนโต๊ะทำงาน

การจัดการสีสำหรับช่างภาพและนักออกแบบ

เริ่มต้นด้วยการพิจารณาขั้นตอนการผลิตภาพ ภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการขั้นตอนการทำงาน กระบวนการสร้างสรรค์ภาพ โดยแยกออกเป็นสามขั้นตอนหลักคือ การสร้างภาพ/การบันทึกภาพ การประมวลผลภาพ/การแต่งภาพ และการผลิตภาพซ้ำ สำหรับการสร้างงานให้ได้สีที่ต้องการและเที่ยงตรงนั้นเราจะต้องรวมทั้งสามขั้นตอนเข้าในการจัดการสี

รูปที่ 1: ขั้นตอนการทำงานของการจัดการสีทั่วไป

ลองมาดูที่แต่ละขั้นตอนอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ในการสร้างภาพซ้ำเราต้องมีภาพสำหรับการเริ่มต้น ดังนั้นขั้นตอนแรกคือการผลิตภาพในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การดำเนินการดังกล่าวมีสองวิธีคือ วาดภาพหรือสร้างภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ และวิธีที่สองคือการจับภาพโดยใช้กล้องดิจิทัล เมื่อเรามีภาพแล้วเราจะทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้นหรือปรับเปลี่ยนตามความชอบของเรา นี่คือขั้นตอนการเพิ่มประสิทธิภาพ หลังจากที่ภาพได้รับการปรับแต่ง ขั้นตอนสุดท้ายคือการผลิตซ้ำ การผลิตซ้ำไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะการพิมพ์แบบบนกระดาษเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการส่งภาพด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การส่งภาพผ่านแฟลชไดรฟ์ การส่งภาพผ่านทางอีเมล และการโพสต์ภาพออนไลน์ เช่น การแชร์บน Instagram หรือ Facebook รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างกระบวนการจัดการสีในทางปฏิบัติ

รูปที่ 2: ตัวอย่างของขั้นตอนการทำงานในการจัดการสีในโลกแห่งความเป็นจริง

เมื่อพิจารณากระบวนการทำงานจะเห็นได้ว่า ในแต่ละขั้นตอนเราจะใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ใช้กล้องถ่ายรูปเพื่อถ่ายภาพ ใช้เครื่องสแกนเพื่อทำสำเนาภาพดิจิทัล หรือใช้คอมพิวเตอร์ในการวาดภาพประกอบ แต่อย่างไรก็ตามจะมีหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ร่วมกันสำหรับทั้งสามขั้นตอน นั่นก็คือจอมอนิเตอร์ หรือจอแสดงผลซึ่งนับได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการจัดการสี

เหตุผลที่จอแสดงผลเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในกระบวนการจัดการสีก็เพราะมนุษย์ต้องพึ่งพาการมองเห็นสีที่แสดงผ่านหน้าจอ เพื่อทำการตัดสินใจปรับแต่งต่อไป รูปที่ 3 แสดงให้เห็นถึงแนวคิดนี้ หากจอแสดงผลแสดงภาพโทนผิวสีเขียวมากเกินไป เราจะปรับภาพโดยการลดสีเขียวเพื่อทำให้โทนผิวดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถระบุได้ว่าการแสดงสีเขียวมาจากไฟล์ภาพจริงๆหรือเป็นผลมาจากการแสดงผลของจอ หากมาจากไฟล์การลดโทนสีเขียวจะทำให้ภาพโทนสีผิวดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นบนจอแสดงผลอื่น ๆ แต่ถ้าสีเขียวที่เห็นเกิดจากจอแสดงผลแล้ว การลดสีเขียวจะทำให้ภาพมีโทนสีเขียวน้อยลงซึ่งจะดูไม่เป็นธรรมชาติบนจอแสดงผลอื่น ๆ ดังนั้นการปรับเทียบจอแสดงผลเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงในการปรับภาพแต่งมากเกินไปหรือผิดพลาด

เราจะประยุกต์จัดการสีลงในขั้นตอนการทำงานได้อย่างไร ? ภาพที่ 4 แสดงขั้นตอนการทำงานโดยทั่วไปสำหรับนักออกแบบ นักออกแบบมักมีแนวคิดหรือ "ภาพ" อยู่ในใจของพวกเขา และ "วาด" ผ่านแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ในคอมพิวเตอร์ จอแสดงผลเป็นตัวแสดง "ฟีดแบ็ค" ของภาพวาด ดังนั้นนักออกแบบจะทราบว่าภาพมีลักษณะอย่างไร และตรงกับเจตนารมณ์ทางศิลปะหรือไม่ผ่านจอนั่นเอง ดังนั้นจอแสดงผลที่ใช้จำเป็นจะต้องได้รับการปรับเทียบ ให้เป็นชุดค่าพารามิเตอร์ที่ตรง เพื่อให้แน่ใจว่างานทั้งหมดถูกสร้างขึ้นภายใต้สภาวะเดียวกันและเพื่อป้องกันการรับรู้ที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริง

รูปที่ 3: มนุษย์ต้องพึ่งพาการมองเห็นสีเพื่อตัดสินว่าพวกเขาชอบหรือไม่

รูปที่ 4: ขั้นตอนการทำงานทั่วไปในการจัดการสีของนักออกแบบ

เมื่อจอแสดงผลถูกปรับเทียบแล้วจะมีการสร้างโปรไฟล์ ICC สำหรับจอแสดงผลนั้น ๆ ควรส่งโปรไฟล์ ICC นี้ไปพร้อมกับรูปภาพเพื่อให้คนอื่น ๆ ในกระบวนการจัดการสีสามารถจำลองสภาพแวดล้อมที่สร้างภาพต้นฉบับได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ให้คนอื่น ๆ สามารเห็นสีสันได้ดุจเดียวกันกับนักออกแบบ และช่วยเก็บรักษาเจตนารมณ์เดิมไว้ รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้โปรไฟล์ ICC จะอธิบายในรายละเอียดในบทความต่อ ๆ ไป

สำหรับช่างภาพ กระบวนการทำงานจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังที่คุณเห็นในรูปที่ 5 เมื่อช่างภาพต้องการ "รักษา" ลักษณะที่ปรากฏบนฉากจริง ช่างภาพจะต้องวางเครื่องมือตรวจสอบสีในฉาก และใช้เครื่องวัดแสงเพื่อกำหนดรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสม ดังนั้นไม่น่าแปลกใจที่มีโปรไฟล์ ICC ที่เกี่ยวข้องกับกล้องที่ช่างภาพใช้โดยเฉพาะ และโปรไฟล์ ICC ควรได้รับการบันทึกไว้ตลอดขั้นตอนการทำงาน โดยโปรไฟล์ ICC สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของผู้ผลิต

รูปที่ 5: ขั้นตอนการทำงานทั่วไปในการจัดการสีของช่างภาพ

นอกจากนี้หากใช้เครื่องสแกนในพิมพ์รูปแบบดิจิทัลดิจิทัล เครื่องสแกนที่มีโปรไฟล์ ICC พร้อมใช้งานก็มีความจำเป็น โปรไฟล์ ICC สำหรับเครื่องสแกนสามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของผู้ผลิต หรือสามารถสร้างขึ้นเองโดยใช้สเปกโตรโฟโตมิเตอร์เป็นเครื่องตรวจสอบสีเช่นเดียวกับกล้องดิจิทัล เครื่องวัดสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ คืออุปกรณ์ที่ใช้วัดสีของสเปกตรัมบนพื้นผิวและให้การวัดที่แม่นยำ โดยทั้งสองวิธีนี้ต้องแปลงสีไปยังจอแสดงผลเพื่อให้มีการแสดงภาพที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามจอแสดงผลก็ควรได้รับการปรับเทียบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นสีที่ถูกต้องได้

เราได้เรียนรู้ถึงขั้นตอนการจัดการสีที่เกี่ยวของกับขั้นตอนการทำงานของช่างภาพและนักออกแบบแล้ว และบทความถัดไป เราจะพูดถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับจัดการสีเพื่อปรับปรุงภาพและผลิตภาพซ้ำ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับท่านหรือไม่?

ใช่ ไม่

ติดตามบทความของเรา

คอยติดตามการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของเรา ข่าวที่จะเกิดขึ้น และสิทธิประโยชน์พิเศษอีกมากมาย

ติดตาม
TOP