เยี่ยมชมเว็บไซต์ BenQ Education สำหรับโซลูชันด้านการศึกษา

คู่มือการซื้อโปรเจคเตอร์สำหรับธุรกิจ - ข้อมูลจำเพาะในการเลือกโปรเจคเตอร์ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ

  • BenQ
  • 2020-03-16

เกริ่นนํา

การเลือกโปรเจคเตอร์ที่เหมาะสมสามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณและพนักงานทํางานได้มากขึ้นโดยเหนื่อยน้อยลง ในอีกแง่หนึ่ง การใช้โปรเจคเตอร์ที่ไม่เหมาะสมไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้ใช้ต้องสับสนวุ่นวายเท่านั้น แต่ยังทำให้การประชุมต้องล่าช้า ลดประสิทธิผลและประสิทธิภาพการทำงานลง ด้วยเหตุนี้ ภาระหน้าที่ในการเลือกโปรเจคเตอร์ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก แต่ก่อนที่คุณจะทําการซื้อโปรเจคเตอร์ครั้งต่อไป คุณควรเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงข้อมูลจําเพาะของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้กับโปรเจคเตอร์ เพื่อช่วยให้คุณสามารถบรรลุผล บทความนี้จะอธิบายคําศัพท์ที่ใช้บ่อยเกี่ยวกับข้อมูลจําเพาะของโปรเจคเตอร์ เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการตัดสินใจของคุณจะดำเนินไปอย่างราบรื่น

BenQ Smart Proyektor EH600
อธิบายคำศัพท์

ระบบการฉาย (เทคโนโลยี)

• DLP
โปรเจคเตอร์ DLP เป็นโปรเจคเตอร์ที่สร้างแสงจากแหล่งกําเนิดแสงซึ่งเดินทางผ่านเลนส์โฟกัส ผ่านวงล้อสีที่แยกสีต่าง ๆ จากนั้นจึงส่องไปยังชิป DMD (Digital Micromirror Device) จากนั้น กระจกขนาดเล็กแต่ละบานในชิป DMD จะปรับมุมตามสัญญาณวิดีโอแบบดิจิทัลที่จัดเก็บในหน่วยความจําของชิป เพื่อให้แสงที่สะท้อนออกมาทําให้เกิดภาพที่ฉายในจอ สีที่สร้างโดยโปรเจคเตอร์ DLP มีแนวโน้มที่จะแม่นยํามากขึ้นและไม่ซีดจางง่าย

• 3LCD
โปรเจคเตอร์ 3LCD ใช้แผง LCD เพื่อปรับสีของแสงจากแหล่งกําเนิดแสงตามสัญญาณวิดีโอ ซึ่งจะสร้างภาพที่ฉายในหน้าจอ ประโยชน์ของการใช้โปรเจคเตอร์ 3LCD คือ สีจะสดใสและอิ่มตัวมากขึ้น ในขณะที่ข้อเสียก็คือจะมีระดับความคมชัดที่น้อยและแนวโน้มที่สีจะซีดจาง

แหล่งกําเนิดแสง

• เลเซอร์
ข้อดีของการใช้แหล่งกําเนิดแสงเลเซอร์ ได้แก่
o ความสว่างสูงมาก
o อายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ทําให้มีค่าใช้จ่ายในการซ่อม/บํารุงรักษาต่ำกว่า
o เวลาเปิด/ปิดที่รวดเร็ว
o การเสื่อมของแสง/ความสว่างต่ำลง จึงสามารถรักษาระดับสีและความสว่างไว้ได้ดีเมื่อเวลาผ่านไป
ข้อเสียของการใช้แหล่งกําเนิดแสงเลเซอร์คือ ค่าใช้จ่ายเริ่มแรกจะสูงกว่าแหล่งกําเนิดแสงจากหลอดภาพ

• หลอดภาพ
ข้อดีของการใช้แหล่งกําเนิดแสงจากหลอดภาพไอปรอท ได้แก่
o ค่าใช้จ่ายต่ำ
o ประสิทธิภาพของสีที่แข็งแกร่ง
ข้อเสียของการใช้แหล่งกําเนิดแสงจากหลอดภาพไอปรอท ได้แก่
o อายุการใช้งานสั้น กล่าวคือ อายุการใช้งานปกติของหลอดภาพเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,000 ชั่วโมงสําหรับรุ่นเริ่มต้น และ 4,000-6,000 ชั่วโมงสําหรับรุ่นไฮเอนด์
o ในระหว่างอายุการใช้งานของโปรเจคเตอร์ ภาพจะมืดลงและเหลืองมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือกล่าวอีกอย่างก็คือ ความสว่าง ความอิ่มตัวของสี และระดับความคมชัดจะลดลง
o ต้นทุนการบํารุงรักษาสูงขึ้นเนื่องจากเหตุผลที่กล่าวข้างต้น

ความสว่าง

• ลูเมน
ลูเมนคือหน่วยวัดแสงเอาท์พุตรวมทั้งสิ้นที่ได้จากแหล่งกําเนิดแสงในระยะเวลาที่กําหนด ปริมาณแสงในห้องประชุมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 250 ลักซ์ (ลูเมนต่อตารางเมตร) จากการทดสอบปริมาณแสงที่จำเป็นจากโปรเจคเตอร์คือประมาณห้าเท่าของสภาพแวดล้อมโดยรอบ หรือในกรณีของห้องประชุมปกติจะอยู่ที่ 1,250 ลักซ์ ตารางด้านล่างแสดงความสว่างที่แนะนํา (ลูเมน) สำหรับโปรเจคเตอร์ที่ติดตั้งท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีความสว่าง 250 ลักซ์โดยอิงตามขนาดหน้าจอ

คุณภาพของภาพ

• อัตราส่วนความคมชัด (Contrast Ratio)
วิธีที่ง่ายที่สุดในการวัดค่าคอนทราสต์ก็คือ การวัดอัตราส่วนระหว่างความสว่างของแสงที่สะท้อนจากภาพขาวทึบ กับภาพดําทึบ นั่นหมายความว่าสําหรับโปรเจคเตอร์ที่มีอัตราส่วนความคมชัด 5000:1 ภาพสีขาวทึบจะสว่างกว่าภาพสีดําทึบ 5,000 เท่า ยิ่งอัตราส่วนความคมชัดสูงเท่าใด ภาพก็ยิ่งแสดงรายละเอียดมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าในแง่ของตัวเลข ข้อความ กราฟิก รูปภาพ หรือวิดีโอก็ตาม ความคมชัดทําให้เราสังเกตเห็นความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสีและแสงเงา ดังนั้น อัตราส่วนความคมชัดที่สูงขึ้นจึงทําให้ผู้ชมมองเห็นรายละเอียดได้มากขึ้นอย่างมาก

• อัตราส่วนภาพ (Aspect Ratio)
อัตราส่วนภาพ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความกว้างและความสูงของภาพที่ฉาย ตัวอย่างเช่น อัตราส่วนภาพสําหรับภาพ Full HD อยู่ที่ 16:9 การถ่ายทอดรายการโทรทัศน์แบบเก่าจะมีอัตราส่วนภาพที่ 4:3 ซึ่งเท่า ๆ กับรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่เครื่องรับโทรทัศน์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันส่งสัญญาณที่อัตราส่วนภาพ 16:9 ของ FHD โปรเจคเตอร์มักใช้อัตราส่วนภาพดังต่อไปนี้ 4:3 (XGA), 16:9 (FHD/4K), 16:10 (WXGA/WUXGA)

• ความละเอียด (4K / FHD / WUXGA / WXGA / XGA)
ความละเอียดของโปรเจคเตอร์ หมายถึง จํานวนพิกเซลแนวนอนคูณด้วยจํานวนพิกเซลแนวตั้ง ตัวอย่างเช่น ความละเอียดสําหรับวิดีโอ Full HD จะอยู่ที่ 1920x1080 ยิ่งภาพหนึ่ง ๆ มีจํานวนพิกเซลมากเท่าใด ภาพก็จะชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น ต่อไปนี้เป็นค่าความละเอียดของมาตรฐานการแสดงผลต่าง ๆ นั่นคือ
o XGA: 1024x768
o WXGA: 1280x800
o WUXGA: 1920x1200
o FHD: 1920x1080
o 4K: 3840 x 2160

ระยะการฉายภาพ

หลักการเบื้องหลังระยะการฉายภาพก็คือ ยิ่งระยะการฉายสั้นเท่าใด (1) จํานวนเลนส์ที่ต้องใช้จะเพิ่มขึ้น (2) ความซับซ้อนของการออกแบบโปรเจคเตอร์จะเพิ่มขึ้น และ (3) ผลที่ได้ต่ำลง ทั้งหมดนี้ส่งผลให้โปรเจคเตอร์มีราคาสูงขึ้น ด้านล่างนี้คือรายการโปรเจคเตอร์ประเภทต่าง ๆ ในแง่ของระยะการฉาย และการตั้งค่าที่เหมาะสม
• ปกติ: ห้องประชุม ห้องเรียน
• ระยะฉายใกล้ปกติ: พื้นที่งานนิทรรศการ พื้นที่การจําลองสถานการณ์ ห้องขนาดเล็ก / ห้องสัมมนา
• ระยะฉายใกล้มาก: พื้นที่การฉายภาพเชิงโต้ตอบ ห้องเรียนเชิงโต้ตอบ

ออปติคัล

หัวข้อต่าง ๆ ด้านล่างจะช่วยอธิบายอัตราส่วนระยะการฉาย อัตราส่วนการซูม และการปรับระดับเลนส์ รวมทั้งอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งเหล่านี้

• อัตราส่วนระยะการฉาย (Throw Ratio)
อัตราส่วนระยะการฉาย คือ ระยะห่างระหว่างเลนส์โปรเจคเตอร์กับหน้าจอ หารด้วยความกว้างของหน้าจอ สําหรับความกว้างหน้าจอที่คงที่ ยิ่งระยะห่างของโปรเจคเตอร์สั้นเท่าใด อัตราส่วนระยะการฉายก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น ซึ่งต้องอาศัยระยะฉายใกล้ปกติและระยะฉายใกล้มาก และจะตรงข้ามกัน สำหรับโปรเจคเตอร์ที่มีระยะห่างมาก

• อัตราส่วนการซูม (Zoom Ratio)
หากโปรเจคเตอร์ได้รับการออกแบบให้มีเลนส์ซูมในตัว ก็จะสามารถปรับขนาดของภาพที่ฉายจากตําแหน่งคงที่ได้ โดยไม่ต้องย้ายตำแหน่งที่ตั้งของโปรเจคเตอร์ จากนั้น อัตราส่วนการซูมจะถูกกําหนดเป็นอัตราส่วนระหว่างความกว้าง/ความยาวของภาพที่ใหญ่ที่สุดที่เลนส์สามารถจะสร้างขึ้นจากตําแหน่งที่กําหนด และความกว้าง/ความยาวของภาพที่เล็กที่สุดที่เลนส์สามารถจะสร้างขึ้นจากตําแหน่งเดียวกัน ในแง่ของการใช้งานในสถานการณ์จริง ความหมายของสิ่งนี้ก็คือ ขนาดภาพ/หน้าจอที่กำหนดไว้คงที่ อัตราส่วนการซูมยิ่งสูงขึ้นเท่าไร ช่วงระยะห่างระหว่างโปรเจคเตอร์กับหน้าจอก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ยิ่งอัตราส่วนการซูมมีความยืดหยุ่นมากเท่าใด คุณก็ยิ่งมีความยืดหยุ่นในแง่ของตัวเลือกการติดตั้ง ในสถานการณ์นี้ ดังแสดงในภาพด้านล่าง อัตราส่วนการซูมเท่ากับ Da หารด้วย Db (โดย D คือระยะห่างระหว่างโปรเจคเตอร์กับหน้าจอ)

• การปรับระดับเลนส์ (Lens Shift)
สําหรับผู้ใช้ส่วนใหญ่ เป็นเรื่องยากที่จะให้ภาพที่ฉายอยู่นั้นอยู่ตรงกลางหน้าจออย่างสมบูรณ์แบบในระหว่างกระบวนการติดตั้ง บ่อยครั้งที่ภาพที่ฉายจะเอียงขึ้นด้านบน หรือเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งของหน้าจอ แม้ว่าคุณพยายามจะตั้งภาพให้อยู่ตรงกึ่งกลางหน้าจอโดยการย้ายตำแหน่งที่ตั้งหรือปรับโปรเจคเตอร์ แต่ก็ไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากการปรับระดับเลนส์ทั้งหมดนี้เป็นคุณลักษณะที่ต้องมีสําหรับโปรเจคเตอร์ การปรับระดับในแนวตั้งช่วยให้เลนส์ของโปรเจคเตอร์เลื่อนขึ้นลงเพื่อย้ายภาพขึ้นหรือลง ในขณะที่การปรับระดับในแนวนอนจะช่วยให้เลนส์สามารถย้ายภาพไปทางซ้ายหรือขวาได้ โปรเจคเตอร์ส่วนใหญ่มีการควบคุมฮาร์ดแวร์ในตัวโปรเจคเตอร์เอง ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานการปรับระดับเลนส์ได้ ในขณะที่โปรเจคเตอร์แบบไฮเอนด์บางรุ่นช่วยให้คุณสามารถใช้ฟังก์ชันการปรับระดับเลนส์ผ่านระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์หรือรีโมทคอนโทรลได้
ตัวอย่างเช่น การใช้โปรเจคเตอร์รุ่น BenQ LK953ST ที่ฉายภาพขนาด 100 นิ้ว การปรับระดับในแนวตั้งมีพิสัย 60% (60% ของความสูงของภาพ) ในขณะที่การปรับระดับในแนวนอนมีพิสัย 23% (23% ของความกว้างของภาพ) ดังที่เห็นในภาพด้านล่าง

• คีย์สโตน (คีย์สโตนแนวตั้ง, คีย์สโตน 2D, คีย์สโตนอัตโนมัติ)
เมื่อติดตั้งโปรเจคเตอร์ในตําแหน่ง/ทิศทางที่ทำให้ไม่สามารถจัดภาพให้อยู่ตรงกลางจอได้อย่างเหมาะสม ภาพที่ปรากฏจะผิดเพี้ยนไปจนทำให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู หรือเรียกว่าคีย์สโตน เอฟเฟ็กต์ (Keystone Effect) ตัวอย่างเช่น หากติดตั้งโปรเจคเตอร์ไว้เหนือหน้าจอและเอียงลงเมื่อฉายภาพ ภาพจะออกมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูในแนวตั้ง แต่หากโปรเจคเตอร์นั้นอยู่ในระดับหน้าจอ แต่ไม่อยู่ตรงกึ่งกลางตามแนวนอน ภาพจะออกมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูในแนวนอน เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะภาพที่ฉายไม่ถูกฉายอย่างเหมาะสมบนระนาบของหน้าจอที่มุม 90 องศาอย่างที่ควรจะเป็น วิธีการแก้ไขรูปสี่เหลี่ยมคางหมูประเภทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากโปรเจคเตอร์ มีรายละเอียดดังนี้

o คีย์สโตนแนวตั้ง: การแก้ไขรูปสี่เหลี่ยมคางหมูแบบพื้นฐานที่สุด ปัจจุบันโปรเจคเตอร์ 4K รองรับคีย์สโตนแนวตั้งเท่านั้นเนื่องจากข้อจํากัดของวงจร
คีย์สโตน 2D รองรับการแก้ไขทั้งคีย์สโตนทั้งแนวตั้งและแนวนอน
o คีย์สโตนอัตโนมัติ: โปรเจคเตอร์ระดับไฮเอนด์สามารถแก้ไขรูปสี่เหลี่ยมคางหมูได้โดยอัตโนมัติ โดยที่จี-เซ็นเซอร์ ที่อยู่ในโปรเจคเตอร์จะช่วยให้โปรเจคเตอร์สามารถแก้ไขรูปสี่เหลี่ยมคางหมูโดยอัตโนมัติผ่านปุ่มกด หรือเมนู OSD ของโปรเจคเตอร์

มาตรฐานอุตสาหกรรม

Rec. 709
Rec. 709 คือชุดมาตรฐานที่กำหนดโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) สําหรับ HDTV ที่มีพื้นที่สี Rec. 709 ซึ่งเหมือนกับพื้นที่สี sRGB ทีวีความละเอียดสูงและโปรเจคเตอทั้งหมดควรสามารถครอบคลุมมาตรฐานสี Rec. 709 ได้ 100%

การควบคุม LAN

ก่อนที่จะกล่าวถึงการควบคุม LAN เราต้องเข้าใจความหมายของ LAN ก่อน LAN หรือ Local Area Network หมายถึงกลุ่มคอมพิวเตอร์ในพื้นที่เดียวกันซึ่งเชื่อมต่อกันเพื่อสร้างเครือข่ายแบบปิด เครือข่ายนี้อาจประกอบด้วยคอมพิวเตอร์สองเครื่องในสํานักงานเดียวกัน หรืออาจจะประกอบด้วยคอมพิวเตอร์จำนวนนับพันเครื่องในบริษัทขนาดใหญ่ก็ได้ บริษัทส่วนใหญ่มักใช้ LAN เพื่อตั้งค่าเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์และถ่ายโอนเอกสารได้ ในแง่ของการใช้งานโปรเจคเตอร์ สิ่งที่คุณต้องทําก็มีเพียงแค่เชื่อมต่อพอร์ต RJ-45 ของโปรเจคเตอร์เข้ากับเครือข่าย และตั้งค่าเลขที่อยู่ IP (ผ่านความสามารถของเลขที่อยู่ IP ของเครือข่าย LAN) เพื่อให้สามารถควบคุมโปรเจคเตอร์ผ่าน LAN ได้

หรือ RS-232

ด้วยมาตรฐาน RS-232 อักขระจะถูกส่งผ่านสตริงของบิตที่เรียงต่อกันตามลําดับอนุกรม ข้อดีของระบบส่งสัญญาณประเภทนี้ก็คือไม่ต้องใช้สายมากนักในการส่งสัญญาณ ดังนั้นสายเคเบิลที่ใช้จึงไม่พันกันให้รุงรัง ข้อเสียคือพิสัยการส่งสัญญาณจะสั้นกว่าาสายเคเบิลเครือข่าย ดังนั้น จึงแนะนําให้ใช้การควบคุม LAN ระยะไกล โปรเจคเตอร์ BenQ รองรับอินเทอร์เฟซ RS-232 สองอินเทอร์เฟซดังแสดงในภาพด้านล่าง และคู่มือการใช้งานของโปรเจคเตอร์รุ่นนี้จะระบุอินเทอร์เฟซเฉพาะที่รองรับ