จำนวนนักเรียนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
รายงานต่อคณะกรรมาธิการยุโรปเกี่ยวกับการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ๆ ในการเรียนระดับอุดมศึกษาระบุว่า
“คาดว่าความต้องการการศึกษาระดับอุดมศึกษาในทั่วโลกจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากนักศึกษากว่า 100 ล้านคนในปัจจุบันเป็นมากกว่า 250 ล้านคนภายในปี 2025 อันเนื่องมาจากระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่ เช่น จีนและอินเดีย แม้แต่ในสหภาพยุโรป (EU) การลงทะเบียนเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”
การลงทะเบียนเข้าเรียนที่เพิ่มขึ้นนี้จะลดทอนการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและผลการเรียนหรือไม่ เพื่อให้เข้าใจคําถามนี้ เราลองมาดูที่ชั้นเรียน “แบบสด” ของมหาวิทยาลัยกัน
คุณคาดหวังที่จะเห็นอะไร
นักศึกษาหลายคนนั่งเงียบ ๆ ฟังอาจารย์บรรยายและจดโน้ต
จะเป็นอย่างไร ถ้าคุณพบว่านักศึกษานั่งแบบกระจัดกระจายทั่วห้องเรียน และพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ กันโดยดูที่จอแสดงผลดิจิทัลบนผนังและบนโต๊ะ เป็นกิจกรรมที่น่าทึ่งใช่ไหม ลองคิดดูว่าการมีส่วนร่วมมากขึ้นของนักศึกษาจะส่งผลต่อผลการเรียนมากเพียงใด ลองคิดดูว่าอาจารย์ผู้สอนจะใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมนี้ได้อย่างไร ยินดีต้อนรับสู่โลกแห่งการศึกษาที่ได้รับการปรับปรุงจากโปรเจคเตอร์สำหรับชั้นเรียนเชิงโต้ตอบ
เพื่อทําความเข้าใจถึงผลกระทบของโปรเจคเตอร์อัจฉริยะที่มีต่อต่อกระบวนการเรียนการสอน สิ่งสําคัญก็คือการพิจารณาบทบาทของสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การจดบันทึกเป็นเรื่องยาก โดยมักจะมีความท้าทายเสมอว่าเนื้อหาใดที่มีประโยชน์และเนื้อหาใดไม่มีประโยชน์ นอกจากจะแสดงการนําเสนอและข้อมูลผ่านโปรเจคเตอร์อัจฉริยะแล้ว “การแชร์ไฟล์” ยังทําให้การแบ่งปันโน้ตย่อแบบดิจิทัลในช่วงท้ายของบทเรียนเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย และเมื่อผู้เรียนทราบว่าคุณได้จัดทำบันทึกย่อที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดไว้แล้ว ผู้เรียนก็จะตั้งใจฟังมากขึ้น และจดบันทึกแต่เฉพาะเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเขาเท่านั้น ผู้เรียนในปัจจุบันสามารถชื่นชมรูปแบบการจดบันทึกที่ “มีประสิทธิภาพ” นี้ได้ ในกรณีที่ไม่มีคุณลักษณะ “การแชร์ไฟล์” ดังกล่าว คุณลักษณะเชิงโต้ตอบในโปรเจคเตอร์จะกระตุ้นให้ผู้เรียนจดบันทึกได้ดีขึ้น
ระบบการฉายภาพเชิงโต้ตอบจะช่วยยกระดับกระบวนการเรียนการสอน แม้ว่าการฉายภาพบนผนังจะเป็นที่ต้องการ แต่การฉายภาพบนโต๊ะที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ก็ช่วยกระตุ้นความสนใจได้มาก
รายงานวิจัยที่เผยแพร่โดยคณะวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดิเอโก ระบุว่า การนําเสนอเนื้อหาในจอแสดงผลบนโต๊ะจะกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามแก้ไขปัญหาด้วยตนเองก่อนที่จะดูที่คําเฉลย และช่วยให้มอบหมายงานซ้ำได้ง่ายขึ้น ผลการศึกษายังเสนอแนะว่า แม้แต่การใช้งานบนโต๊ะแบบมินิมัลก็สามารถให้ประโยชน์ต่อกิจกรรมการศึกษาในบริบทของมหาวิทยาลัย ซึ่งเน้นการเรียนรู้ร่วมกัน
การสาธิตด้วยวิธีการฉายภาพบนโต๊ะคือวิธีที่ดีในการทำให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม ด้วยการทําเช่นนี้ ทุกคนจะได้รับมุมมองที่เท่าเทียมและชัดเจนเกี่ยวกับเนื้อหาที่คุณแสดงบนโต๊ะเรียน และกระตุ้นให้พวกเขาให้ความสนใจ
คุณยังคงใช้เวิร์กชีทแบบกระดาษในห้องเรียนอยู่หรือไม่ ได้เวลาเปลี่ยนแปลงแล้ว!
การใช้โปรเจคเตอร์อัจฉริยะสามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้พวกเขามีส่วนร่วมในการนําเสนอ การเล่นเกม เนื้อหาวิดีโอ และกิจกรรมกลุ่มอื่น ๆ ทั้งหมดในเซสชั่นเดียว สามารถเตรียมองค์ประกอบต่าง ๆ ของบทเรียนได้ล่วงหน้าและเข้าถึงได้โดยเพียงแค่เสียบ USB เข้ากับโปรเจคเตอร์โดยตรง
นอกจากนี้ การเรียนรู้แบบผสมและ BYOD นั้นทำได้ง่ายขึ้นมากด้วยโปรเจคเตอร์ วิธีนี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสาธิตแนวคิดใหม่ ๆ และยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลสําหรับการศึกษาโดยอิสระได้ เนื่องจากมีให้บริการทางออนไลน์ ตัวอย่างเช่น สําหรับนักศึกษาแพทย์ การสร้างภาพร่างกายมนุษย์แบบ 3 มิติจะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายมากผ่านภาพในหน้าจอ แทนที่จะเห็นเนื้อหาในตำราเรียนแบบ 2 มิติ นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดเวลาสำหรับครูผู้สอน เนื่องจากไม่จําเป็นต้องเขียนทุกอย่างบนกระดานดํา เช่น การวาดแผนผังและวงจรที่ซับซ้อน
โปรเจคเตอร์สําหรับชั้นเรียนเชิงโต้ตอบช่วยให้ครูผู้สอนไม่ต้องเขียนโน้ตบนกระดาน นอกจากนี้ ยังช่วยลดสิ่งรบกวนสําหรับผู้เรียนใน “ช่วงเวลาอยู่เงียบ ๆ” และแนวโน้มที่ผู้เรียนคนอื่นอาจจะพูดคุยและรบกวนคนอื่น ๆ ด้วยโปรเจคเตอร์อัจฉริยะ คุณก็สามารถวางแผนบทเรียนล่วงหน้าได้ด้วยสื่อการนําเสนอที่มีอยู่ อาจารย์ผู้สอนที่กระตือรือร้นยังสามารถดึงผู้เรียนมาเข้าร่วมในฐานะผู้ช่วยสอนได้ โดยการประสานแผนการสอนและยกระดับการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
การศึกษาและการอ้างอิงจากเนื้อหาดิจิทัลจะส่งเสริมให้ครูผู้สอนและผู้นักเรียนไม่ต้องใช้กระดาษ และหันมาใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น แล็ปท็อป แท็บเล็ต หรือแม้แต่สมาร์ทโฟน ซึ่งจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการลดคาร์บอนฟุตพรินท์ของห้องเรียนและสถาบันต่าง ๆ
โปรเจคเตอร์อัจฉริยะจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้หากเครื่องเสีย ในอินเดีย ปัญหาไฟดับและ “ฝุ่น” คือสองเหตุผลหลักที่ทําให้โปรเจคเตอร์เสียหาย ปัญหาของ “ฝุ่น” ทําให้คุณประหลาดใจหรือไม่
ใช่แล้ว “ฝุ่น” ไม่เพียงอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยัง “สร้างความเสียหายให้กับโปรเจคเตอร์” อีกด้วย