ปัจจุบันนี้ทุกคนคงทราบแล้วว่า โลกของเรากำลังเกิดอะไรขึ้น สืบเนื่องจากปลายปี 2019 ที่โลกของเราได้เกิดโรคระบาดอุบัติใหม่ขึ้นไปทั่วโลกกินเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน ทำให้ชีวิตประจำวันของเราทุกคนเปลี่ยนไปอย่างมาก หรือที่เราทุกคนเรียกติดปากกันว่า New normal นั่นเอง
แน่นอนว่าโรงเรียนและบริษัทต่าง ๆ ต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนและการทำงาน เพราะเนื่องจากตามนโยบายขององค์การอนามัยโลก และ ประกาศของกระทรวงสารธารณสุข ว่าเราควรต้องเว้นระยะห่างซึ่งกันและกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการระบาดของโรค โรงเรียนจึงจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนการเรียนเป็นการเรียนแบบออนไลน์ โดยให้นักเรียนอยู่ที่บ้านและเข้าเรียนผ่านทาง Video Conference หรือตามช่องทางต่าง ๆ และแน่นอนว่าด้วยการปรับเปลี่ยนแบบกะทันหันนี้ ทำให้ทั้งนักเรียนและอาจารย์ต่างต้องเจอความลำบาก ทั้งไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนที่ต่างจากเดิม ต่างต้องปรับตัว และรวมถึงอุปกรณ์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทั้งตัวอาจารย์และนักเรียนเองก็ดี
โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่มีการจัดการระบบการเรียนการสอนที่สามารถรองรับทำให้สถานะการณ์ที่ยากลำบากนี้ผ่านไปอย่างราบรื่น โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ เป็นสถาบันการศึกษาดับที่ 13 ของเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เปิดทำการสอนวันแรก วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งชายและหญิงรวมทั้งสิ้น 4,566 คน มีจำนวนบุคลากรทั้งครูไทยและครูต่างชาติรวมทั้งสิ้น 344 คน โดยเปิดสอนเป็น 2 หลักสูตร คือ Modern Language Program (MLP) คือ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ และหลักสูตร English Program (EP) คือการจัดการสอนโดยครูที่เป็น Native Speaker โดยมีภราดา ดร.พิสูตร วาปีโส เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน ภราดาพิทยา เตื่อยตา เป็นรองผู้อำนวยการ ภายใต้การดูแลของ ภราดา ดร.เดชาชัย ศรีพิจารณ์ ประธานมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
ณ ปัจจุบันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ทางโรงเรียนให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของบุคลากรครู นักเรียน และผู้ปกครองมาเป็นอันดับแรก ทำให้ทางโรงเรียนมีการปรับการเรียนการสอนเป็นระบบออนไลน์ทั้งหมด ผ่าน Platform Cisco Webex แน่นอนว่า การเรียนการสอนแบบออนไลน์นี้ค่อนข้างใหม่มากสำหรับโรงเรียน ครู รวมถึงนักเรียนและผู้ปกครอง หรือแม้แต่แผนกที่ดูแลด้านเทคโนโลยี (IT) ของทางโรงเรียนเองก็ตาม ที่ต้องเร่งมือและเตรียมความพร้อมเพื่อคอยช่วยสนับสนุนและแก้ไขปัญหาการใช้งานทั้งของครูผู้สอน และของนักเรียน เพราะทุกคนต่างยังไม่มีประสบการณ์กับการสอนและเรียนออนไลน์ โดยเฉพาะนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่ยังไม่สามารถเข้าโปรแกรมได้เองต้องมีผู้ปกครองให้ความดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งทำให้เกิดปัญหาระหว่างการเรียนในช่วงแรกๆ พอสมควร
ทางโรงเรียนจึงพยายามสร้างทักษะและความเข้าใจให้กับคณะครู นักเรียน และผู้ปกครอง ให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการจัดประชุมออนไลน์ขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองให้เข้าใจถึงตัว Platform การสอนออนไลน์ และลักษณะการเรียนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ทางโรงเรียนเองก็พยายามอย่างยิ่งที่จะอำนวยความสะดวก โดยการจัดสรรงบประมาณเพื่อบริหารจัดการระบบเน็ตเวิร์ค อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ให้พร้อมกับการจัดการสอนออนไลน์ การอัพโหลดวิธีการใช้งานต่าง ๆ รวมถึงรายละเอียดวิธีการที่นักเรียนและผู้ปกครองจำเป็นต้องใช้ระหว่างเรียนออนไลน์ไว้บนหน้าเว็บไซต์ของโรงเรียน เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึง มีระบบการสอบถามผ่าน Line OpenChat ทำให้การปรับตัวในการเรียนออนไลน์ของบุคลากรทุกภาคส่วนในโรงเรียนนั้นผ่านไปด้วยดี
ด้วยแนวโน้มสถานการณ์ปัจจุบัน และ การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคดิจิตอล ทำให้โรงเรียนไม่เคยหยุดพัฒนาและปรับตัวให้พร้อมรับการกลับสู่สภาวะปกติอยู่เสมอ เมื่อกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีการเปิดเรียนได้ตามข้อกำหนดของทางกระทรวง คือ ไม่เกินห้องละ 25 คน เพื่อลดความแออัดซึ่งอาจเป็นบ่อเกิดของการแพร่กระจายของเชื้อโรค และนักเรียนอีกครึ่งห้อง หรือจำนวน 25 คน ต้องเรียนแบบออนไลน์ที่บ้านไปพร้อมกับเพื่อนที่โรงเรียน โดยแนวคิดการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่ให้นักเรียนทุกคนได้มีความเสมอภาคในการได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน หรือ No Child Left Behind จึงได้เกิดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอน “ครูสองห้อง Let’s Learn Together” โดยการเรียนแบบผสมผสาน (Blending) คือ เรียน On-Site และ เรียน Online ไปพร้อมๆ กัน เสมือนนั่งเรียนในห้องเรียนพร้อมเพื่อน ดังนั้นโรงเรียนจึงต้องการเทคโนโลยีที่จะตอบสนองกิจกรรมการสอนดังกล่าวให้เป็นไปได้และง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งคำตอบก็คือ การใช้หน้าจออัจฉริยะ หรือ Interactive Flat Panel นั่นเอง
ทางโรงเรียนได้ประสานงานกับ BenQ ประเทศไทย เพื่อหาความร่วมมือด้านการจัดการสอน เพราะ BenQ ประเทศไทยเป็นผู้นำในด้าน Solution ด้านการศึกษา และมีประสบการณ์ที่ยาวนาน ทางโรงเรียนจึงร่วมมือกับ BenQ ประเทศไทย ในการติดตั้ง Interactive Flat Panel (IFP) หรือหน้าจออัจฉริยะไว้ในห้องเรียน นอกจากหน้าจอ Interactive Flat Panel จะสามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนออนไลน์แบบผสมผสาน Blending : On-site และ Online ได้แล้ว ยังมีโซลูชั่นต่างๆ และระบบ AMS ที่ใช้ user ของครูผูกกับบัตรประจำตัวครู เพื่อความสะดวกสบายในการเข้าใช้จอ IFP ระบบ AMS นี้สามารถทำให้ User ของผู้ใช้ ผูกกับ OneDrive หรือ Google Doc ของตัวเองได้เลย เพื่อความรวดเร็วในการเรียนการสอน อีกทั้งยังมีระบบ DMS ที่ครูผู้ดูแลงาน IT ของทางโรงเรียน สามารถจัดการหลังบ้านได้อย่างง่ายดาย เช่น การลง Applicationต่างๆ หรือการดูสถานะการทำงานของเครื่องจากระยะไกล รวมถึงยังสามารถดูรายงานได้อีกด้วยว่า แต่ละเครื่องเปิดใช้งานไปกับโปรแกรมอะไรไปบ้าง และแน่นอนว่า โซลูชั่นของ BenQ ได้อำนวยความสะดวกให้กับทั้งครูผู้สอน นักเรียน และรวมถึงงาน IT ของทางโรงเรียนได้อย่างมาก โรงเรียนจึงมีการติดตั้งหน้าจอ Interactive Flat Panel แล้วเสร็จไปจำนวนทั้งหมด 33 เครื่อง โดยประกอบไปด้วย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, ประถมศึกษาปีที่ 3, มัธยมศึกษาปีที่ 1, มัธยมศึกษาปีที่ 4 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 และจะมีการเพิ่มจำนวนขึ้นอีกในอนาคตให้ครบทุกห้องเรียน
โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการณ์ให้ความสำคัญในด้านการศึกษา ความปลอดภัย สุขภาพของนักเรียน ครู และพนักงานทุกคน โรงเรียนจึงไม่หยุดคิดที่จะหาสิ่งใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาโรงเรียน และหวังว่านักเรียนที่จบจากที่โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการทุกคนจะได้รับประสบการณ์ที่ดี และนำความรู้ที่ได้จากโรงเรียนไปใช้ได้ในอนาคต