ในบริบทด้านการศึกษา โควิด-19 คือสิ่งที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่อย่างฉับพลันทันที เอกสารทางการฉบับล่าสุดขององค์การสหประชาชาติประเมินว่า ผู้เรียนจำนวน 1,600 ล้านคนใน 190 ประเทศ ได้รับผลกระทบด้านการศึกษาจากโรคระบาดใหญ่ แม้ว่าขอบเขตการปิดโรงเรียนจะแตกต่างกันอย่างมากระหว่างประเทศต่าง ๆ และภายในแต่ละประเทศ แต่แน่นอนว่าผลกระทบนั้นสูงมาก และเมื่อโรงเรียนกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง ก็ยังไม่มีการรับประกันถึงความต่อเนื่อง สิ่งที่แน่นอนเพียงอย่างเดียวก็คือ การหยุดชะงักที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ อย่างไม่แน่นอน และเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันทีนี้ มีแนวโน้มที่จะเป็นมาตรฐานใหม่สําหรับนักการศึกษา เห็นได้ชัดว่า วิธีปฏิบัติด้านสุขภาพภายหลังสถานการณ์โควิด-19 และวิธีปฏิบัติด้านการเรียนการสอนก่อนเกิดโควิด-19 นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อโรงเรียนจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามไป
ความท้าทายที่สําคัญสําหรับโรงเรียนก็คือ การหาวิธีที่จะทําให้พื้นที่การเรียนรู้มีความมั่นคงปลอดภัยโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ ในแง่หนึ่ง การเว้นระยะห่างทางสังคมคืออาวุธสําคัญในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในอีกแง่หนึ่ง ครูผู้สอนทราบดีกว่าการสอนแบบพบหน้ากันนั้นมีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งได้แก่ การมีส่วนร่วมมากขึ้นและการสร้างอุปนิสัยต่าง ๆ ที่มีคุณค่าอย่างมาก เช่น การทํางานเป็นทีม และภาวะผู้นํา
การเรียนรู้แบบไฮบริดคือกุญแจสําคัญในการบรรลุเป้าหมายด้านการศึกษาและการเว้นระยะห่างทางสังคม
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทั้งในแง่สุขภาพและการศึกษา โรงเรียนจึงคิดหาวิธีการต่าง ๆ เช่น การอนุญาตให้นักเรียนบางส่วนค่อย ๆ กลับมาเรียนที่โรงเรียนเพิ่มขึ้นโดยพิจารณาตามช่วงอายุ และการจัดตารางเวลาการเข้าเรียนแบบเป็นกะเพื่อลดจํานวนนักเรียนในชั้น แต่ไม่ว่าจะใช้กลยุทธ์ใด กุญแจสําคัญในการให้การศึกษาอย่างต่อเนื่องแก่นักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันก็คือ การเรียนรู้ทางไกลที่จัดโดยโรงเรียน หรือ “การเรียนรู้แบบผสมผสาน”
ครูผู้สอนเข้าใจอย่างชัดเจนว่า เมื่อต้องเผชิญกับภาวะการชะงักงันด้านการเรียนการสอน ทางโรงเรียนจําเป็นต้องมีแผนที่ครอบคลุม ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้ทางไกลแบบเต็มเวลาและแนวทางแบบผสมผสาน การสํารวจความคิดเห็นทางออนไลน์จากบรรดาครูและเจ้าหน้าที่ธุรการซึ่งดําเนินการโดย OECD พบว่า 57% ของผู้ตอบแบบสํารวจชื่นชอบรูปแบบผสมผสานของการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ทางไกลเพื่อส่งเสริมการเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งอาจเป็นการเรียนรู้เชิงโต้ตอบแบบใหม่ ๆ และการเรียนรู้ร่วมกัน
ความท้าทายของการเรียนรู้แบบไฮบริดที่ดำเนินการโดยโรงเรียนในช่วงโรคระบาดใหญ่
การเรียนรู้แบบผสมผสานไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่มีพื้นฐานมาจากวิธีปฏิบัติด้านการศึกษาโดยอาศัยเทคโนโลยีในช่วงทศวรรษ 1970 อย่างไรก็ตาม การผสานรวมการเรียนทางไกลที่ดำเนินการโดยโรงเรียน เข้ากับการสอนในห้องเรียนแบบพบหน้ากันนั้น มาพร้อมกับข้อจํากัดและความท้าทายต่าง ๆ ซึ่งรวมถึง
- ผู้เรียนทางไกลอาจไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเมื่อเรียนรู้จากที่บ้าน
- ครูผู้สอนไม่สามารถสังเกตปฏิกิริยาตอบกลับและระดับความเข้าใจของนักเรียนที่เรียนทางไกลได้
- ผู้เรียนทางไกลอาจถูกรบกวนสมาธิเนื่องจากกิจกรรมอื่นหรือเนื้อหาออนไลน์อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
- ผู้เรียนทางไกลขาดโอกาสที่จะโต้ตอบกับครูผู้สอนแบบหนึ่งต่อหนึ่ง
- การสูญเสียการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทางกายภาพระหว่างครูผู้สอนและนักเรียน อาจทำให้ผู้เรียนรู้สึกแปลกแยก
กล่าวโดยสรุป ความท้าทายก็คือการให้การศึกษาที่มีคุณภาพเท่ากัน ระหว่างการเรียนรู้แบบพบหน้ากันกับแบบระยะไกล ความท้าทายนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยเทคโนโลยีจอแสดงผลสำหรับห้องเรียนที่เหมาะสม และผสานรวมกับเอกสารหลักสูตรของครู
แบรนด์การเรียนรู้แบบผสมผสานแบบใหม่หรือไฮบริดที่ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีสำหรับห้องเรียน
กระดานอัจฉริยะของ BenQ ช่วยให้สามารถปรับปรุงการเรียนรู้แบบใหม่ผสมผสานแบบไฮบริด ซึ่งเอาชนะความท้าทายของการเรียนรู้ทางไกลที่ดำเนินการโดยโรงเรียนได้ กระดานอัจฉริยะ, โปรเจคเตอร์สำหรับห้องเรียน และจอมอนิเตอร์สําหรับการเรียนรู้จากที่บ้าน ทําให้สามารถรวมการสอนแบบพบหน้ากับเข้ากับการเว้นระยะห่างทางสังคมได้
เห็นได้ชัดว่า การเรียนรู้แบบผสมผสานรูปแบบใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงนี้ มอบความยืดหยุ่นที่ดีเยี่ยมในแง่ความพร้อมใช้งาน ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ได้จากทุกที่ทุกเวลา ขณะเดียวกันก็ได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนและการสอนแบบพบหน้ากัน โรงเรียนจะดูแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง “New Normal” สําหรับนักการศึกษาคือ ที่ที่สร้างความสมดุลระหว่างสุขภาพที่ดี การเรียนรู้ร่วมกัน และการศึกษาที่มีคุณภาพเท่า ๆ กันระหว่างการเรียนรู้แบบพบหน้ากันกับการเรียนรู้แบบทางไกล การลงทุนในเทคโนโลยีด้านการศึกษาสำหรับห้องเรียนของ BenQ เป็นวิธีที่ช่วยให้สามารถบรรลุผลสําเร็จได้อย่างชัดเจน